ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พันธะเคมี

ชนิดของพันธะเคมี

พันธะภายในโมเลกุล
(intramolecular bond)
พันธะระหว่างโมเลกุล
(intermolecular bond)
พันธะโคเวเลนต์ (covalent bonds)
พันธะไฮโดรเจน (hydrogen bonds)
พันธะไอออนิก (ionic bonds)
แรงแวนเดอร์วาลส์ (Van der Waals forces)
พันธะโลหะ ( metallic bonds)
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล - ไอออน
(molecule-ion attractions)

พันธะไอออนิก
พันธะไอออนิก ( Ionic bond ) หมายถึงแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่าง 2 อะตอมอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่างกันมาก อะตอมที่มีค่าอิเลคโตรเนกาติวิตีน้อยจะให้อิเลคตรอนแก่อะตอมที่มีค่าอิเลคโตรเนกาติวิตีมาก และทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ อะตอมครบ 8 (octat rule ) กลายเป็นไอออนบวก และไอออนลบตามลำดับ เกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าระหว่างไอออนบวกและไอออนลบ และเกิดเป็นโมเลกุลขึ้น เช่น การเกิดสารประกอบ NaCl ดังภาพ
สมบัติของสารประกอบไอออนิก
1. มีขั้ว เพราะสารประกอบไอออนิกไม่ได้เกิดขึ้นเป็นโมเลกุลเดี่ยว แต่จะเป็นของแข็งซึ่งประกอบด้วยไอออนจำนวนมาก ซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้า
2. ไม่นำไฟฟ้าเมื่ออยู่ในสภาพของแข็ง แต่จะนำไฟฟ้าได้เมื่อใส่สารประกอบไอออนิกลงในน้ำ ไอออนจะแยกออกจากกัน ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าในทำนองเดียวกันสารประกอบที่หลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้ด้วยเนื่องจากเมื่อหลอมเหลวไอออนจะเป็นอิสระจากกัน เกิดการไหลเวียนอิเลคตรอนทำให้อิเลคตรอนเคลื่อนที่จึงเกิดการนำไฟฟ้า
3 . มีจุหลอมเหลวและจุดเดือดสูง      ความร้อนในการทำลายแรงดึงดูดระหว่างไอออนให้กลายเป็นของเหลวต้องใช้พลังงานสูง
4 . สารประกอบไอออนิกทำให้เกิดปฏิกิริยาไอออนิก คือ ปฏิกิริยาระหว่างไอออนกับไอออน ทั้งนี้เพราะสารไอออนิกจะเป็นไอออนอิสระในสารละลาย ปฏิกิริยาจึงเกิดทันที
5 . สมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามรอบ ๆ ไอออนแต่ละไอออนจะมีสนามไฟฟ้าซึ่งไม่มีทิศทาง จึงทำให้เกิดสมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก
6. เป็นผลึกแข็ง แต่เปราะและแตกง่าย
พันธะโควาเลนต์
พันธะโควาเลนต์ (Covalent bond) หมายถึง พันธะในสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอม 2 อะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน แต่ละอะตอมต่างมีความสามารถที่จะดึงอิเล็กตรอนไว้กับตัว อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจึงไม่ได้อยู่ ณ อะตอมใดอะตอมหนึ่งแล้วเกิดเป็นประจุเหมือนพันธะไอออนิก หากแต่เหมือนการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่างอะตอมคู่ร่วมพันธะนั้นๆและมีจำนวนอิเล็กตรอนอยู่รอบๆ แต่ละอะตอมเป็นไปตามกฎออกเตต ดังภาพ
ป็นพันธะที่เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนข้างนอกร่วมกันระหว่างอะตอมของธาตุหนึ่งกับอีกธาตุหนึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิดด้วยกัน
1. พันธะเดี่ยว (Single covalent bond )เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 อิเล็กตรอน เช่น F2 Cl2 CH4 เป็นต้น

2. พันธะคู่ ( Doublecovalent bond ) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันของธาตุทั้งสองเป็นคู่ หรือ 2 อิเล็กตรอน เช่น O2 CO2 C2H4 เป็นต้น

3. พันธะสาม ( Triple covalent bond ) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 อิเล็กตรอน ของธาตุทั้งสอง เช่น N2 C2H2 เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง http://www.nakhamwit.ac.th/pingpong_web/ChenBond.htm

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Homepage

ศาตร์พระราชา การนำเสนอข้อมูล ผู้จัดทำ     งานกลุ่ม   ม.6/7 รุ่น 72 ปี 62 โลโก้วงกลมตัวอักษรโค้ง    งานสร้างตัวอักษรเป็นภาพ   โลโก้สินค้า          สูตรเคมี                                                                   พันธะเคมี           ตารางธาตุ                                                                             สารและสมบัติของสาร                                       กรด เบส

สูตรเคมี

สูตรเคมี  (chemical formulas) คือ สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนโมเลกุลของสารที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์ของธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบโมเลกุลของสารนั้นๆ ประเภทสูตรเคมี สารบัญเรื่อง  [ แสดง ] 1. สูตรโมเลกุล  (molecular formulas) คือ สูตรเคมีที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสารนั้นใน 1 โมเลกุล เช่น 2. สูตรอย่างง่าย  หรือ  สูตรเอมพิริคัล  (empirical formulas) คือ สูตรเคมีที่แสดงถึงอัตราส่วนอย่างต่ำของจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบ นิยมใช้เขียนแสดงสูตรของสารประกอบไอออนิกที่ไม่มีสูตรโมเลกุลที่แน่นอน 3. สูตรโครงสร้าง  (structural formulas) คือ สูตรเคมีที่แสดงถึงองค์ประกอบของธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุที่มีการจัดเรียงตัวในลักษณะต่างๆ สามารถเขียนได้ 2 แบบ คือ 3.1 สูตรโครงสร้างในระนาบ 2 มิติ  แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ – สูตรโครงสร้างแบบเส้น (dash formulas) เป็นสูตรโครงสร้างที่ใช้วิธีการเขียนเส้นตรงแทนอิเล็กตรอนจำนวน 1 คู่ - สูตรโครงสร้างแบบจุดอิเล็กตรอน (electron-dot formulas) หรือ สูตรลิวอิส ที่เสน...

สารและสมบัติของสาร

สารและสมบัติของสาร   สสาร  (  Matter )   คือ สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่ และสามารถสัมผัสได้ หรืออาจหมายถึงสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา มีตัวตน ต้องการที่อยู่ สัมผัสได้ อาจมองเห็นหรือไม่เห็นก็ได้ เช่น อากาศ เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์เรียกสสารที่รู้จักแล้วว่า    สาร สาร  (  Substance )    คือ สสารที่ศึกษาค้นคว้าจนทราบสมบัติและองค์ประกอบที่แน่นอนซึ่งก็คือเนื้อของสสารนั่นเอง สมบัติของสาร    มี 2 ประเภท คือ 1.    สมบัติกายภาพ  (  Physical Property )   หมายถึง สมบัติที่สังเกตได้จากลักษณะภายนอก และ เกี่ยวกับวิธีการทางฟิสิกส์ เช่น ความหนาแน่น  ,  จุดเดือด  ,  จุดหลอมเหลว 2.    สมบัติทางเคมี  (  Chemistry Property )  หมายถึง สมบัติที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาเคมี เช่น การติดไฟ  ,  การเป็นสนิม  ,  ความเป็น   กรด - เบส ของสาร   การจัดจำแนกสาร   สามารถจำแนกออกเป็น  4  กรณี ได้แก่    1.  กา...